วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นบริเวณดินแดนเลแวนต์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์ ในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเผยแผ่ครั้งแรกจากกรุงเยรูซาเลม ตลอดจนดินแดนตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซีเรีย อัสซีเรีย เมโสโปเตเมีย ฟินิเชีย อานาโตเลีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอียิปต์ ในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ได้รับเลือกให้เป็นศาสนาประจำชาติโดยราชวงศ์อาร์เมเนียในปี ค.ศ. 301 จอร์เจียในปี ค.ศ.319[1][2] อาณาจักรอักซุมในปี ค.ศ.325[3][4] และจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ.3..อ่านต่อ

พระธัมมทินนาเถรี

ประวัติและผลงานโดยสังเขป
        พระธัมมทินนาเถรี  เป็นภิกษุณีที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล  แต่เดิมนางธัมมทินนาเป็นธิดาของเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์  แคว้นมคธ  ได้สมรสกับวิสาขะเศรษฐีและใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเป็นสุข
ต่อมาวิสาขะเศรษฐีผู้สามีได้ฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า  ได้สำเร็จมรรคผลชั้นอนาคามี  ไม่ยินดีในกามกิเลส  รูป  กลิ่น  เสียง  และสัมผัส  และอธิบายความสุขในรสพระธรรมให้ภรรยาฟังจนนางธัมมทิน...อ่านต่อ

กำเนิดอหิงสกกุมาร

กำเนิดอหิงสกกุมาร
ที่เมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองคุลิมาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณ์ชื่อ มันตานี ภรรยาของ คัคคพราหมณ์ (ภัคควพราหมณ์) ซึ่งเป็นปุโรหิตแห่งเมืองสาวัตถี  ในเวลาที่องคุลิมาลคลอดออกจากครรภ์มารดานั้น บรรดาอาวุธทั้งหลายในนครทั้งสิ้นช่วงโชติขึ้น แม้กระทั่งฝักดาบ ที่อยู่ในห้องพระบรรทมก็ส่งแสงเรืองขึ้น พราหมณ์ปุโรหิตจึงลุกออกมาแหงนดูดาวนักษัตร ก็รู้ว่าบุตรเกิดโดยฤกษ์ดาวโจร ลูกของตนที่จะเกิดจากครรภ์ของภรรยานั้น จะเป็นโจรผู้ร้ายกาจเที่ยวเข่นฆ่ามนุษย์เสียมากมาย
วันรุ่งขึ้นปุโรหิตจึงเข้าไปในพระราชวัง เข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อทูลถวายรายงานถึงเหตุอาเพศที่เกิดขึ้นเมื่อคืนก่อน และกราบทูลว่าเป็นเพราะลูกที่เกิดจากนางพราหมณีที่เรือนของตน พระราชาสอบถามว่าอาเพศดังกล่าวจักเกิดเหตุอะไร ปุโรหิตกราบทูลว่า เขาจักเป็นมหาโจร พระราชาถามต่อว่าจักเป็นโจรทำ...อ่านต่อ

พุทธสาวก พุทธสาวิกา

ประวัติพุทธสาวก ในบทนี้ ได้ศึกษา เรื่อง พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระราหุล และพระเขมาเถรี เพื่อวัตถุประสงค์นำแนววิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของท่านนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของศาสนิกชน
ระอานนท์


ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่...อ่านต่อ

พุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม
เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่..อ่านต่อ

พระไตรปิฏก

พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
     ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายก...อ่านต่อ

พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน[1] ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้าพระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัต..อ่านต่อ

เวสสันดรชาดก

ระเจ้าสญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีพี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่างย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นข...อ่านต่อ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธมามกะ

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนให้ปรากฎว่า เป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน ผู้ประสงค์จะประกอบพิธีนี้ ต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์ที่เคารพนับถือ หากเป็นเด็กหรือนักเรียน ต้องมีผู้ปกครองหรือครูนำไป ควรมีดอกไม้ ธูป เทียน ไปถวายพระอาจารย์ตามธรรมเนียมโบราณด้วย เมื่อไปถึงสำนักพระอาจารย์แล้ว พิธีกรพึงแนะนำให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติดังนี้
         - เข้าไปหาพระอาจารย์ ทำความเคารพ กราบเรียนถึงจุดประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ เมื่อท่านรับแล้วจึงมอบตัว

         - ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถือพานดอกไม้เข้าไปหาพระอาจารย์คุกเข่าลงกับพื้นยกพานดอกไม้ขึ้น น้อมตัวลงประเค...อ่านต่อ

มารยาทชาวพุทธ

รื่อง มารยาทชาวพุทธ
สาระสำคัญ
   มารยาทชาวพุทธ  เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน  ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา  ที่มีลักษณะเฉ...อ่านต่อ